แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภท คือ Analog Controller และ Digital Controller
1. Analog Temperature Controller
เป็น Temperature Controller ประเภทหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุม แต่วงจรภายในไม่ได้ใช้ตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุม จะใช้เพียงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรืออาจจะไม่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์เลยมีเพียงโลหะ 2 ชนิด ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ โดยตัวควบคุมประเภทนี้ปัจจุบันมีใช้น้อยลง ทั้งในอุตสาหกรรมหรืองานที่ต้องการความถูกต้องในการวัดและการควบคุมสูง เนื่องจากถูกแทนด้วยตัวควบคุมแบบดิจิตอล ซึ่งมีความแม่นยำมากกว่า
รูป Analog Temperature Controller
2. Digital Temperature Controller
เป็น Temperature Controller ประเภทหนึ่งที่มีใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ทั้ง ร้อน และ เย็น หรือ ทั้งร้อนและเย็นพร้อมกัน โดยมีความเที่ยงตรงสูง และ สามารถใช้งานได้หลากหลาย รวมถึงสามารถต่อเข้ากับระบบควบคุมแบบใหม่ได้ เช่น Industry 4.0 เพื่อเก็บข้อมูล หรือ การควบคุมจากระยะไกลผ่านทางพอร์ตการสื่อสาร เช่น RS-485 หรือ MODBUS โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานของตัวคบคุมได้แก่ หน้าจอแสดงผลค่าอุณหภูมิ PV ส่วนของการตั้งค่าอุณหภูมิ SV ช่องรับสัญญาณอินพุต และช่องส่งสัญญาณเอาต์พุต
รูป Digital Temperature Controller
รูปแสดงตัวแปรของ Temperature Controller
รูปแสดงหลักการทำงานของ Temperature Controller
ในการทำงานของ Temperature Controller นั้น จะเริ่มต้นที่การตั้งค่าที่ส่วนของ SV ซึ่งเป็นการระบุว่าเราต้องการควบคุมอุณหภูมิที่กระบวนการผลิตเท่าไร เช่น ตั้งไว้ 500ºC จากนั้นตัวควบคุมอุณหภูมิ ก็จะทำการเปรียบเทียบ หรือ หาผลต่างระหว่างค่า PV กับ SV ซึ่งค่า PV จะได้จากการอ่านค่า Sensor Input ซึ่งถ้าค่า PV น้อยกว่า SV ก็จะสั่งให้ Control Signal Output จ่ายสัญญาณออกไปผ่าน SSR ที่เปรียบเสมือนสวิตช์ เพื่อเร่งให้ตัว Heater ทำงานให้ร้อนขึ้น เมื่ออุณหภูมิที่ค่า PV มากกว่า SV ก็จะทำการลดค่า Control Signal Output ลงเพื่อให้ Heater ทำงานน้อยลง โดยกระบวนการควบคุมนี้เป็น พื้นฐานการควบคุมแบบหนึ่งที่เรียกว่า การควบคุมแบบ On-Off Control
รูประบบการควบคุมแบบเปิด
2. ระบบปิด (Close Loop Control) หรือ Feedback Control
เป็นการควบคุมที่คำนึงถึงผลของการควบคุมตลอดเวลา โดยจะมีการวัดผลของการควบคุมแล้วส่งกลับมาเพื่อเปรียบเทียบกับค่าที่เราต้องการ ตัวควบคุมจะทำการเปิด/ปิด เอาต์พุตเพื่อทำให้ค่าที่วัดได้เท่ากับค่าที่ตั้งไว้ การควบคุมแบบนี้เป็นหลักการของการควบคุมทั่วไป เช่น การควบคุมอุณหภูมิ การควบคุมระดับน้ำ การควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ เป็นต้น
รูประบบการควบคุมแบบเปิด
1. การควบคุมแบบ ON/OFF
เป็นการควบคุมแบบ 2 ตำแหน่ง คือ ตัดและต่อ หรือ เอาต์พุตจะเปลี่ยนระหว่าง 0% กับ 100% เอาต์พุตจะตัดเมื่ออุณหภูมิถึงค่า set point เท่านั้น
ซึ่งในการควบคุมแบบ ON/OFF ทั้งการตัด/ต่อเอาต์พุต จะทำอยู่รอบๆ ค่า setpoint เช่น ค่า setpoint เท่ากับ 100°C เอาต์พุตจะตัดที่ 100°C และจะต่อทันทีเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 100°C ในกรณีที่เอาต์พุตเป็นแบบหน้าสัมผัส การตัดต่อด้วยความถี่สูงๆ จะทำให้หน้าสัมผัสเสื่อมสภาพเร็ว หรือเกิดการอ๊าคติดกัน ค่า Hysteresis เป็นค่าที่ใช้ตั้งเพื่อกําหนดให้เอาต์พุตที่ตัดที่จุด setpoint แล้วนั้น กลับมาต่อเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า setpoint เท่าใด (ในกรณีควบคุมความร้อน) ตัวอย่างเช่น ถ้าตั้ง setpoint ไว้ที่ 100°C และตั้งค่า Hysteresis ไว้ที่ 5°C เอาต์พุตจะตัดที่ 100°C และจะกลับมาต่อที่ 95°C เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ทำให้ลักษณะการควบคุมแบบ ON/OFF นี้จะมีค่าอุณหภูมิแกว่งไปมา (Hunting) รอบๆค่า setpoint และจะมี Overshoot ทุกครั้งขณะเริ่มต้นการควบคุม
รูปกราฟการควบคุมแบบ ON/OFF
2. การควบคุมแบบ PID
การควบคุมแบบ PID ช่วยให้การควบคุมมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการควบคุมแบบ P ลด Overshoot และ Hunting การควบคุมแบบ I ลด Offset ซึ่ง Offset ค่าความแตกต่างระหว่างค่า setpoint กับค่าที่วัดได้คงที่ค่าหนึ่งเสมอ ส่วนการควบคุมแบบ D จะตอบสนองต่อสิ่งรบกวนจากภายนอก ซึ่งในการควบคุมแบบ PID จำเป็นต้องตั้งค่า P, I และ D ด้วย
แต่เนื่องจากตัวควบคุมอุณหภูมิของ OMRON นี้มีฟังก์ชัน Auto-tuning ที่ช่วยในการปรับค่า PID ตามสภาพแวดล้อมภายนอกให้เหมาะสม โดยการทำงานของ PID จะช่วยลด Overshoot เนื่องจากการควบคุมแบบ on/off จะตัดเมื่อค่า PV ถึง SV แต่การควบคุมแบบ PID จะตัดการทำงานก่อนที่จะถึง SV ซึ่งช่วงในการตัดจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมภายนอกที่ได้ทำการ Auto-tuning ไว้
รูปกราฟการควบคุมแบบ PID